ภาพรวมการเริ่มต้นธุรกิจ
1. การกำหนดประเภทธุรกิจ
การประกอบธุรกิจการค้าอาจดำเนินการได้หลายรูปแบบ ทั้งโดยบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของกิจการโดยลำพัง หรืออาจดำเนินการโดยร่วมลงทุนกับบุคคลอื่นเป็นกลุ่มคณะก็ได้ การที่จะตัดสินใจเลือกดำเนินธุรกิจการค้าในรูปแบบใดนั้น ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบที่สำคัญหลายประการด้วยกัน เช่น ลักษณะของกิจการค้า เงินทุน ความรู้ความสามารถในการดำเนินธุรกิจเป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้การประกอบธุรกิจนั้นประสบผลสำเร็จนำมาซึ่งผลประโยชน์และกำไรสูงสุด
รูปแบบการจัดทำธุรกิจในไทย
2. การกำหนดชื่อนิติบุคคล / การจองชื่อนิติบุคคล
ผู้ที่ต้องการจะจดทะเบียนนิติบุคคล จะต้องตรวจสอบ และจองชื่อนิติบุคคลก่อนว่าซ้ำกับผู้ประกอบการอื่น หรือสามารถจดทะเบียนได้หรือไม่ โดยจะต้องสมัครสมาชิกบริการออนไลน์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และปฏิบัติตามคำแนะนำที่ปรากฏในเว็บไซต์ ในการตรวจสอบชื่อนิติบุคคล ผู้ขอจองชื่อต้องตรวจสอบชื่อที่ต้องการจะจองว่า ชื่อดังกล่าวต้องไม่เหมือนหรือมีเสียงเรียกขานตรงกัน หรือคล้ายคลึงกับชื่อที่ได้จองหรือได้จดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว หรือขัดระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 ข้อ 38 (1) – (11) ด้วยตนเอง โดยระบบคอมพิวเตอร์จะประมวลผลและแสดงข้อมูลชื่อนิติบุคคลที่มีอยู่ในระบบก่อนจองชื่อ
3. การดำเนินการด้านแรงงานในการเป็นนายจ้าง
กิจการที่เป็นนิติบุคคลที่มีการจ้างงาน จะต้องมีการดำเนินการด้านแรงงานตามกฏหมาย ดังนี้
3.1 การขอขึ้นทะเบียนนายจ้าง
3.2 การขอขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน
3.1 การขอขึ้นทะเบียนนายจ้างผู้ประกอบการสามารถขึ้นทะเบียนนายจ้างตามกฎหมาย โดยนายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องขึ้นทะเบียนนายจ้างพร้อมกับขึ้นทะเบียนลูกจ้างเป็นผู้ประกันตน ภายใน 30 วัน และเมื่อมีการรับลูกจ้างใหม่เพิ่มขึ้นต้องแจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างใหม่ภายใน 30 วัน เช่นกัน
3.2 การขอขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน
ให้นายจ้างแจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนต่อสํานักงานประกันสังคมภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รับลูกจ้าง เข้าทำงานมิฉะนั้นจะมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ โดยนายจ้างมีหน้าที่รวบรวมแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส. 1-03) โดยใช้แบบ สปส. 1-02 เป็นหนังสือนำส่งในการยื่นต่อสํานักงานประกันสังคม
4. การดำเนินการด้านการจดทะเบียนเป็นผู้เสียภาษี
หลังจากจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจเป็นนิติบุคคลแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการจดทะเบียนด้านภาษี ซึ่งประกอบด้วย ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ
4.1 การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
4.2 การจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
5. การการส่งงบการเงินประจำปี
ตามกฎหมายได้กำหนดให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องยื่นงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าดังนี้
- ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด และห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
- นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
- กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
- บริษัทจำกัด
- บริษัท มหาชน จำกัด
- สมาคมการค้า
- หอการค้า