กลุ่มภาษี ท้องถิ่น

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2563  โดยจะเริ่มมีผลจัดเก็บภาษี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็ นต้นไมีขึ้นเพื่อทดแทนกฎหมายภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 และภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508 เพื่อให้กฎหมายมีความสอดคล้องกับลักษณะที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปัจจุบัน โดยภาษีที่ดินฉบับใหม่นี้ ให้อำนาจ “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” เป็นผู้จัดเก็บภาษีตามที่คณะกรรมการภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างประจำจังหวัดกำหนด ส่วนฐานภาษีที่จะถูกจัดเก็บจะคิดจากมูลค่าทั้งหมดของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง โดยการคำนวณจากมูลค่าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง ส่วนผู้มีหน้าที่เสียภาษี ก็จะเป็นผู้ที่มีชื่อการถือครองที่ดินในใบโฉนดเหมือนกับภาษีโรงเรือนและที่ดิน

ต้องเสียภาษีเมื่อไร ?

  • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/สำนักงานเขต ออกหนังสือแจ้งการครอบครองที่ดิน/บ้าน ให้ผู้เสียภาษีทราบภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
  • ผู้เสียภาษีต้องชำระภาษีภายในเดือนเมษายนของทุกปี
  • หากมียอดภาษี 3,000 บาทขนึ้ ไป สามารถผ่อนชำระได้3 งวด งวดละเท่า ๆ กัน คือจ่ายในเดือนเมษายน, พฤษภาคม และมิถุนายน

หมายเหตุ : สำหรับในปี 2563 ซงึ่ จดัเก็บภาษีทีดิน เป็นปีแรก กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศขยายกำหนดเวลาจัดเก็บภาษีที่ดินออกไป จากเดิมต้องเสียภาษีภายในเดือนเมษายน 2563 เลื่อนไปเป็นภายในเดือนสิงหาคม 2563 เนื่องจากออกกฎหมายลำดับรอง อีก 8 ฉบับ ยังไม่แล้วเสร็จ

สอบถามเพิ่มเติม

สำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานคร โทร.1555 หรือ ค้นหาที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ของสำนักงานเขต

สำหรับพื้นที่นอกกรุงเทพมหานคร ติดต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่นั้นๆ หรือค้นหาที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ภาษีป้าย

ภาษีป้าย คือ ภาษีที่จัดเก็บจากป้ายโฆษณาสินค้าต่างๆ
ป้ายที่ต้องเสียภาษี ได้แก่ ป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมาย ที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือ ประกอบกิจการอื่น เพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น
ป้ายที่ไม่ต้องเสียภาษี
  1. ป้ายที่แสดงไว้ ณ โรงมหรสพและบริเวณของโรงมหรสพนั้นเพื่อโฆษณามหรสพ
  2. ป้ายที่แสดงไว้ที่สินค้าหรือสิ่งที่ห่อหุ้มหรือบรรจุสินค้า
  3. ป้ายที่แสดงไว้บริเวณงานที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว
  4. ป้ายที่แสดงไว้ที่คนหรือสัตว์
  5. ป้ายที่แสดงไว้ภายในอาคารที่ใช้ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นหรือภายในอาคารซึ่งเป็นที่รโหฐาน ทั้งนี้เพื่อหารายได้และแต่ละป้ายมีพื้นที่ไม่เกิน 3 ตารางเมตรที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ไม่รวมถึงป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์
  6. ป้ายของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาคหรือราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
  7. ป้ายขององค์การที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นๆ และหน่วยงานที่นำรายได้ส่งรัฐ
  8. ป้ายของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการสหกรณ์และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  9. ป้ายของโรงเรียนเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนหรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่แสดงไว้ ณ อาคาร หรือบริเวณของโรงเรียนเอกชนหรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้น
  10. ป้ายของผู้ประกอบการเกษตรซึ่งค้าผลผลิตอันเกิดจากการเกษตรของตน
  11. ป้ายของวัดหรือผู้ดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนาหรือการกุศลสาธารณะโดยเฉพาะ
  12. ป้ายของสมาคมหรือมูลนิธิ
  13. ป้ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
    ปัจจุบันมีกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2535) ให้เจ้าของป้ายไม่ต้องเสียภาษีป้ายสำหรับ
    13.1 ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่รถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ รถบดถนน หรือรถแทรกเตอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
    13.2 ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ล้อเลื่อนตามกฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน
    13.3 ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ยานพาหนะนอกเหนือจาก (13.1) และ (13.2) โดยมีพื้นที่ไม่เกินห้าร้อยตารางเซนติเมตร
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย คือ เจ้าของป้าย แต่ในกรณีที่ปรากฏแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ว่าไม่มีผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1) สำหรับป้ายใด เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจหาตัวเจ้าของป้ายนั้นได้ ให้ถือว่าผู้ครอบครองป้ายนั้นเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย ถ้าไม่อาจหาตัวผู้ครอบครองป้ายนั้นได้ให้ถือว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร หรือที่ดินที่ป้ายนั้นติดตั้งหรือแสดงอยู่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายตามลำดับและให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมินภาษีเป็นหนังสือไปยังบุคคลดังกล่าว
ในกรณีที่เจ้าของป้ายอยู่นอกประเทศไทยให้ตัวแทนหรือผู้แทนในประเทศมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายแทนเจ้าของป้ายถ้าเจ้าของตายหรือไม่อยู่ เป็นคนสาบสูญ เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถให้ผู้จัดการมรดก ผู้ครอบครองทรัพย์มรดกไม่ว่าจะเป็นทายาทหรือผู้อื่น ผู้จัดการทรัพย์สิน ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์แล้วแต่กรณีมีหน้าที่ปฏิบัติการแทนเจ้าของป้าย
กำหนดระยะเวลาให้ยื่นแบบแสดงรายการ ให้เจ้าของป้ายซึ่งจะต้องเสียภาษีป้าย ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1) ณ ฝ่ายรายได้สำนักงานเขตซึ่งป้ายนั้นติดอยู่ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี ป้ายที่ติดตั้งใหม่หรือมีการเปลี่ยนแปลง หลังจากเดือนมีนาคมให้ยื่นแบบภายใน 15 วัน นับแต่วันติดตั้งหรือแสดงป้าย หรือนับตั้งแต่วันเปลี่ยนแปลงแก้ไขแล้วแต่กรณีให้เจ้าของป้ายมีหน้าที่เสียภาษีโดยเสียเป็นรายปี ยกเว้นป้ายที่เริ่มติดตั้งหรือแสดงในปีแรกให้เสียภาษีป้ายตั้งแต่วันเริ่มติดตั้ง หรือแสดงจนถึงวันสิ้นปีและคิดภาษีป้ายเป็นรายงวด งวดละ 3 เดือน ของปีโดยเริ่มเสียภาษีป้ายตั้งแต่งวดที่ติดตั้งป้ายจนถึงงวดสุดท้ายของปี
•  กรณีป้ายโฆษณาที่ติดตั้งใหม่ ให้ยื่นแบบ (ภ.ป.1) ภายใน 15 วัน
•  กรณีป้ายที่ชำระค่าภาษีป้ายต่อเนื่องทุกปี ให้ยื่นแบบ (ภ.ป. 1) ได้ตั้งแต่ เดือนมกราคม ถึง เดือนมีนาคม ของทุกปี
•  กรณีป้ายที่ชำระค่าภาษีป้ายประจำปีแล้วต้องการเปลี่ยนแปลงป้าย ให้มาแจ้ง ภายใน 15 วัน
•  หากท่านปลดป้ายลงเนื่องจากเลิกกิจการกรุณาแจ้งให้ทราบภายในเดือนธันวาคม ของทุกปี
ฐานภาษีและอัตราภาษี
ฐานภาษีให้คิดจากขนาดกว้างคูณยาวของป้ายและอัตราภาษีให้คิดจากประเภทของป้ายเช่น เป็นอักษรไทย หรือต่างประเทศ หรือรูปภาพ
กรณีป้ายมีขอบเขตกำหนดไว้ การคำนวณพื้นที่ป้ายให้เอาส่วนกว้างที่สุดคูณด้วยส่วนยาวที่สุดเป็นขอบเขตของป้าย
กรณีที่ป้ายไม่มีขอบเขตกำหนดไว้ ให้ถือเอาตัวอักษร ภาพหรือเครื่องหมาย ที่อยู่ริมสุดเป็นขอบเขต เพื่อกำหนดส่วนที่กว้างที่สุดและยาวที่สุด แล้วคำนวณตามตาราง
เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบการยื่นแบบฯ
กรณีป้ายใหม่ให้เจ้าของป้ายยื่นแบบเสียภาษี พร้อมสำเนาหลักฐานและลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง ได้แก่
1. ใบอนุญาตติดตั้งป้าย, ใบเสร็จรับเงินค่าทำป้าย
2. สำเนาทะเบียนบ้าน
3. บัตรประจำตัวประชาชน / บัตรข้าราชการ / บัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ / บัตรประจำตัว ผู้เสียภาษี
4. กรณีป้ายเป็นนิติบุคคลให้แนบหนังสือรับรองสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท, ทะเบียนพาณิชย์และหลักฐานของสรรพากร เช่น ภ.พ. 01, ภ.พ. 09, ภ.พ. 20
5. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีไม่สามรถยื่นแบบได้ด้วยตนเอง พร้อมติดอากรแสตมป์ตามกฎหมาย)
6. หลักฐานอื่น ๆ ตามที่เจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำ เช่น รูปถ่ายป้าย,วัดขนาดความกว้าง x ยาว
กรณีป้ายเก่า (ระยะเวลา ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน )
1. แบบเสียภาษีป้าย (ภ.ป.1)ของปีที่ที่แล้ว
2. ใบเสร็จรับเงินการเสียภาษีครั้งสุดท้าย
3. กรณีเจ้าของป้ายเป็นนิติบุคคลให้แนบหนังสือรับรองสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทพร้อมกับการยื่นแบบ (ภ.ป.1)
การไม่ชำระค่าภาษีภายในกำหนดเวลา 
1.ไม่ยื่นแบบภายในเดือนมีนาคมหรือหลังติดตั้งป้าย 15 วัน เสียเงินเพิ่ม 10 % ของค่าภาษี
2.ยื่นแบบไม่ถูกต้องค่าภาษีน้อยลงเสียเพิ่ม 10% ของค่าภาษีประเมินเพิ่มเติม
3.ไม่ชำระเงินภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งประเมิน เสียเงินเพิ่มร้อยละ 2 ต่อเดือนของค่าภาษี
การอุทธรณ์ภาษีป้าย เมื่อผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายได้รับแจ้งการประเมินแล้ว 
หากเห็นว่าการประเมินนั้นไม่ถูกต้องมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยยื่นอุทธรณ์ผ่านพนักงานเจ้าหน้าที่ ที่ฝ่ายรายได้สำนักงานเขตท้องที่ซึ่งยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ โดยต้องยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
ถ้าผู้อุทธรณ์ไม่ยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วันหรือไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกไม่ยอมให้ถ้อยคำ หรือไม่ยอมส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องโดยไม่มีเหตุอันสมควร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมายมีอำนาจยกอุทธรณ์นั้นเสียได้ เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้วินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จและแจ้งคำวินิจฉัยพร้อมด้วยเหตุผลเป็นหนังสือไปยังผู้อุทธรณ์ หากผู้อุทธรณ์ไม่เห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้อุทธรณ์มีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยฟ้องเป็นคดีต่อศาลภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เว้นแต่ในกรณีที่เป็นการยกอุทธรณ์ดังได้กล่าวข้างต้น อย่างไรก็ตามการอุทธรณ์นั้นไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีป้าย เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครว่าให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษาของศาลเสียก่อนให้ยื่นแบบตามแบบ ภ.ป.4
ในกรณีที่มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลให้มีการลดจำนวนเงินที่ได้ประเมินไว้ ให้แจ้งผู้มีหน้าที่เสียภาษีทราบโดยเร็ว เพื่อมาขอรับเงินคืนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ผู้ใดเสียภาษีป้ายโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษี หรือเสียเกินกว่าที่ควรต้องเสียมีสิทธิได้รับเงินคืน โดยยื่นคำร้องขอคืนภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้เสียภาษีป้าย
เงินเพิ่ม
ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย เสียเงินเพิ่มนอกจากเงินที่ต้องเสียภาษีป้ายในกรณีและอัตรา ดังนี้
1. ไม่ยื่นแบบภายในเวลาที่กำหนด เสียเงินเพิ่ม ร้อยละสิบ ของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษี แต่ถ้ายื่นแบบก่อนได้รับใบแจ้งเตือนเสียเงินเพิ่ม ร้อยละ 5 ของจำนวนเงินที่ต้องเสีย
2. ยื่นแบบไม่ถูกต้องทำให้เสียภาษีน้อยลงเสียเงินเพิ่ม ร้อยละสิบ ของภาษีป้ายที่ประเมินเพิ่มเติม
3. ไม่ยื่นชำระภาษีป้าย ภายในเวลาที่กำหนดเสียเงินเพิ่ม ร้อยละสอง ต่อเดือนของจำนวนเงิน ที่ต้องเสียภาษีป้าย
บทกำหนดโทษ
1. จงใจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จหรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตั้งแต่ห้าพันถึงห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. ป้ายที่ติดตั้งบนอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลอื่น และมีพื้นที่เกินสองตารางเมตร ต้องมีชื่อและที่อยู่เจ้าของป้ายเป็นตัวอักษรไทยชัดเจนที่มุมขวาด้านล่างของป้าย หากไม่ปฏิบัติตาม ต้องระวางโทษปรับวันละหนึ่งร้อยลาททุกวัน ตลอดระยะเวลาที่กระทำความผิด
3. ไม่แจ้งการรับโอนป้ายภายในสามสิบวัน นับแต่วันรับโอนหรือไม่แสดงหลักฐานการเสียภาษีป้ายไว้ ณ ที่เปิดเผยต้องระวางโทษ ปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท
4. ขัดขวางการปฏิบัติการของพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อตรวจสอบ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเป็นหนังสือเรียกมาให้ถอยคำหรือให้ส่งบัญชีหรือเอกสารเกี่ยวกับภาษีป้ายมาตรวจสอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับตั้งแต่หนึ่งพันถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
5. จงใจไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ต้องระวางโทษ ปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงห้าหมื่นบาท
สอบถามเพิ่มเติม
สำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานคร โทร.1555 หรือ ค้นหาที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ของสำนักงานเขต
สำหรับพื้นที่นอกกรุงเทพมหานคร ติดต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่นั้นๆ หรือค้นหาที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart