ภาษีที่เกิดจากการประกอบธุรกิจ
ประเภทของภาษี
1.1 ผู้ประกอบการซึ่งประกอบกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม การขายสินค้าหรือการให้บริการ ที่มีรายรับเกิน ๑,๘๐๐๐,๐๐๐ บาทต่อปี หรือมีแผนงานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ได้เตรียมการเพื่อประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ อันเป็นเหตุให้ต้องมีการซื้อสินค้าหรือรับบริการที่อยู่ ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น ก่อสร้างโรงงาน ติดตั้งเครื่องจักร ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
1.2 ผู้ประกอบการซึ่งประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังต่อไปนี้ สามารถแจ้งสิทธต่ออธิบดี เพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้
๑) การขายสินค้าตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๘๑(๑)(ก) ถึง (ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร
๒) การขายสินค้าหรือการให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่มีรายรับไม่เกิน ๑,๘๐๐,๐๐๐ บาทต่อปี
๓) กิจการอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
ท่านสามารถยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มทางอิเล็กทรอนิกส์และศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่โทร 1161
1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.)
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และหมายความรวมถึงนิติบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลสามารถคำนวณได้ 2 รูปแบบ คือ การคำนวณจากกำไรสุทธิ และการคำนวณจากยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย นอกจากนี้ยังมีภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย และภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับการจำหน่ายกำไรไปนอกประเทศด้วย
ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งจัดทำโดย กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง ตามรายการด้านล่าง ดังนี้
1. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
2. นิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
3. ฐานภาษีของเงินได้นิติบุคคล
4. ภาษีเงินได้นิติบุคคลคำนวณจากกำไรสุทธิ
4.1 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิ
4.2 รอบระยะเวลาบัญชี
4.3 กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
4.4 เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
4.5 เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (รายจ่ายต้องห้าม)
4.6 อัตราภาษีและการคำนวณภาษี
4.7 การยื่นเบบแสดงรายการและชำระภาษี
5. ภาษีเงินได้นิติบุคคลคำนวณจากยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย
6. ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย
7. ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับการจำหน่ายกำไรไปนอกประเทศ
2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) (ภ.พ.)
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax: VAT) เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการ โดยจัดเก็บเฉพาะจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนการผลิต การจำหน่าย หรือการให้บริการ สำหรับประเทศไทยมีการนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้ในปี พ.ศ. 2535 เนื่องจากสามารถขจัดปัญหาภาษีซ้ำซ้อน มีความเป็นกลางทางเศรษฐกิจ เอื้ออำนวยต่อการลงทุน การส่งออก และมีกลไกป้องกันการหลบเลี่ยงภาษี โดยประเทศไทยมีการกำหนดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ที่ร้อยละ 10 แต่ได้มีการออกพระราชกฤษฎีกาลดเหลือร้อยละ 7
ผู้ประกอบการสามารถศึกษารายละเอียดได้ตามหัวข้อด้านล่าง เพื่อพิจารณาว่ากิจการของตนนั้น เข้าหลักเกณฑ์ที่จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ รวมทั้งหลักเกณฑ์ในด้านอื่น ๆ
1. ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและกำหนดเวลาการจดทะเบียน
2. ผู้ประกอบกิจการที่ได้รับการยกเว้นแต่มีสิทธิขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
3. ผู้ประกอบกิจการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
4. วิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
5. ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
6. การแจ้งเปลี่ยนแปลงการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
7. หน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
8. กำหนดโทษการปฏิบัติฝ่าฝืนเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
9. ใบกำกับภาษี
9.1 การออกใบกำกับภาษีด้วยกระดาษ
9.2 ประเภทของใบกำกับภาษี
9.3 ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์
10. สำหรับผู้ประกอบการส่งออก
แบบคำร้อง/คำขอและแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
ดาวน์โหลดแบบคำร้อง/คำขอ
ดาวน์โหลดแบบแสดงรายการภาษี
สถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี
ช่องทางการชำระภาษี
ธนาคารที่เข้าร่วมโครงการรับชำระภาษี
ช่องทางการชำระภาษีผ่านธนาคารต่าง ๆ
สอบถามเพิ่มเติมที่ กรมสรรพากร โทร.1161 หรือ Contact Us ของกรมสรรพากร
3. ภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.)
ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่างแทนภาษีการค้าที่ถูกยกเลิก ภาษีธุรกิจเฉพาะเริ่มใช้บังคับใน พ.ศ.2535 พร้อมกันกับภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยประมวลรัษฎากรได้กำหนดกิจการประเภทต่าง ๆ ที่จะต้องจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะไว้ ผู้ประกอบการสามารถศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ได้จากหัวข้อด้านล่าง
ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่างแทนภาษีการค้าที่ถูกยกเลิก ภาษีธุรกิจเฉพาะเริ่มใช้บังคับใน พ.ศ.2535 พร้อมกันกับภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยประมวลรัษฎากรได้กำหนดกิจการประเภทต่าง ๆ ที่จะต้องจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะไว้ ผู้ประกอบการสามารถศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ได้จากหัวข้อด้านล่าง
1. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
2. การประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
3. กิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
4. ฐานภาษีและอัตราภาษี
5. หน้าที่ของผู้ประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
6. การยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ
7. การขอคืนภาษีธุรกิจเฉพาะ
8. กำหนดเวลาในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.ธ.40)
9. สถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี
ช่องทางการชำระภาษี
ธนาคารที่เข้าร่วมโครงการรับชำระภาษี
ช่องทางการชำระภาษีผ่านธนาคารต่าง ๆ
สอบถามเพิ่มเติมที่ กรมสรรพากร โทร.1161 หรือ Contact Us ของกรมสรรพากร
4. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นวิธีหนึ่งของผู้มีเงินได้โดยกฎหมายกำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้ในบางกรณีทำหน้าที่คำนวณหักเงิน ซึ่งตนมีหน้าที่จ่ายให้แก่ผู้รับเงินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนดแล้วนำเงินนั้นส่งแก่รัฐบาลเงินที่ได้หักและนำส่งดังกล่าวถือเป็นเครดิตในการเสียภาษีเงินได้ของผู้รับเงินเมื่อถึงกำหนดเวลายื่นรายการเสียภาษี ถ้ากรณีใดไม่มีกฎหมายกำหนดให้หักภาษีผู้จ่ายเงินได้ก็ไม่ต้องหักภาษีแต่อย่างใด
ผู้ประกอบการสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายได้ตามหัวข้อด้านล่าง
1. ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
2. กฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย รวมทั้งอัตราการหักภาษีในกรณีต่าง ๆ
3. โปรแกรมคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ช่องทางการชำระภาษี
ธนาคารที่เข้าร่วมโครงการรับชำระภาษี
ช่องทางการชำระภาษีผ่านธนาคารต่าง ๆ
การยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านอินเตอร์เน็ต (e-Filing) ของกรมสรรพากร
ปัจจุบันกรมสรรพากรได้ให้บริการการยื่นแบบภาษีผ่านอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นการอานวยความสะดวกให้แก่ผู้เสียภาษี โดยสามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้ทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยจะได้รับขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชาระภาษี และการนำส่งภาษีออกไปอีก 8 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อลดการใช้กระดาษสนับสนุนโครงการร่วมชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของกรมสรรพากร (RD Carbon Credit) โดยมีขั้นตอนการสมัครใช้บริการเพียงไม่กี่ขั้นตอน โดยนิติบุคคลที่สนใจใช้ บริการจะต้องดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
1. สมัครสมาชิกยื่นแบบผ่านอินเตอร์เน็ต โดยกรอกแบบฟอร์มตามแบบ ภ.อ.01 ให้ครบถ้วนแล้วกดปุ่ม “ตกลง”
2. เลือก “ช่องทางการขำระภาษี” ที่ประสงค์จะเลือกใช้
3. สั่งพิมพ์แบบ ภ.อ.01 ที่ระบุหมายอ้างอิงการลงทะเบียนและข้อตกลงการยื่นแบบฯ เพื่อให้กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตรานิติบุคคล (ถ้ามี) ทุกหน้า
4. เตรียมเอกสารที่ใช้ประกอบในการยื่นแบบคำขอยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเตอร์เน็ท ภ.อ.01 ดังนี้
4.1 ข้อตกลงการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
4.2 กรณีเป็นนิติบุคคล ต้องแนบสำเนา หรือภาพถ่ายหนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทฉบับปัจจุบันที่มีระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทได้ลงลายมือชื่อและภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือใบสำคัญคนต่างด้าวของผู้มีอำนาจผูกพันกับนิติบุคคลนั้น โดยผู้มีอำนาจดังกล่าวได้ลงลายมือชื่อรับรองในภาพถ่ายด้วย
4.3 กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำการแทน ต้องจัดทำหนังสือมอบอำนาจพร้อมแนบภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจที่ได้ลงลายมือชื่อรับรองในภาพถ่าย
5. ภายใน 15 วัน หลังจากที่ลงทะเบียนตามแบบ ภ.อ.01 ในเว็บไซต์แล้ว ให้นำเอกสารประกอบการสมัครขอใช้บริการตามข้อ 4 ยื่นที่
สำนักบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอกนิกส์ กรมสรรพากร ชั้น 27 โดยจะได้รับ บัญชีผู้ใช้และรหัสผ่าน ในวันที่นำเอกสารมายื่น
สำนักงานสรรพากรพื้นที่ (จังหวัด) กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร โดยจะได้รับ บัญชีผู้ใช้และรหัสผ่าน ทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ที่ลงทะเบียน
6. การอนุมัติให้ใช้บริการ “ยื่นแบบ และชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต” กรมสรรพากรจะแจ้งผลการอนุมัติให้ยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตทาง e-mail address ที่ได้แจ้งไว้ในการลงทะเบียนหรือตรวจสอบได้ที่นี่
ระบบ e-Filing เพื่อยื่นแบบแสดงรายการทางอิเล็กทรอนิกส์
สอบถามเพิ่มเติมที่ กรมสรรพากร โทร.1161